วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บุคคลต่างชาติ

เซอร์ จอห์นเบาริ่ง



พระยาสยามานุกูลกิจ

เซอร์จอห์น เบาริ่ง (Sir. John Bowring, 17 ตุลาคม พ.ศ. 2335 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415) เป็นราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจาก สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย แห่งประเทศอังกฤษ เพื่อเข้ามาเจริญสัมพันธ์ทางพระราชไมตรีและเจรจาทำสนธิสัญญากับราชสำนักไทย ในปี พ.ศ. 2397 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในที่สุดก็มีการลงนามใน สนธิสัญญาเบาริง (Bowring treaty) เมื่อวันที่ 18 เมษายนปีเดียวกัน

สนธิสัญญาฉบับนี้มีผลให้สยามต้องเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาลและมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เกิดขึ้น แต่ก็ทำให้สยามรอดจากการตกเป็นอาณานิคมไปได้ สนธิสัญญาดังกล่าวทำให้เกิด การค้าเสรี ถือเป็นการสิ้นสุดของ การผูกขาดการค้าต่างประเทศ โดยพระคลังสินค้าของเจ้านายสยาม สนธิสัญญานี้มีผลใช้บังคับอยู่นานกว่า 70 ปี

เซอร์จอห์น เบาริ่ง เป็นทั้งเจ้าเมืองฮ่องกง (ถึง 9 ปีระหว่าง ค.ศ. 1848-57) เป็นพ่อค้า เป็นนักการทูต เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมือง เป็นนักการศาสนา เป็นนัก แต่งเพลงสวด เป็นกวี เป็นนักประพันธ์ เป็นบรรณาธิการ เป็นนักภาษาศาสตร์ (รู้ถึง 10 ภาษาหลักๆ ทั้งหมด ในยุโรป รวมทั้งภาษาจีน)




ตั้งแต่ เซอร์จอห์น เบาริ่ง เข้ามาถึงกรุงเทพฯ รัตนโกสินทร์ หรือที่ฝรั่งทั่วไปเรียกว่า Bangkok นั้น ท่านเซอร์ได้บันทึกรายวันเอาไว้ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มีนาคม ถึงวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๓ เป็นเวลา ๑ เดือนเต็มๆ บันทึกนี้ มีสาระเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของสังคมตั้งแต่ในพระบรมมหาราชวัง พระบวรราชวังลงมาถึงขุนนาง ผู้คนระดับชาวบ้าน

ท้ายที่สุดสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตไทยประจำลอนดอน และยุโรป ถือได้ว่าเป็น “ตัวแทนประจำคนแรกของไทย” ก็ว่าได้ มีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยา สยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ” เบาว์ริงเกิด พ.ศ. 2335 (17 ตุลาคม 1792) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 ท่านมี อายุมากกว่าพระจอมเกล้า 12 ปี ท่านสิ้นชีวิต พ.ศ. 2415 (23 พฤศจิกายน 1872) เมื่ออายุ 80 ปี หรือ ภายหลังการสวรรคตของพระจอมเกล้าฯ 4 ปีนั่นเอง

บุคคลสำคัญของไทย


สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า หรือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๕ เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) มีพระเชษฐา พระเชษฐภคินี พระกนิษฐภคินี และพระอนุชา ร่วมพระชนนีรวม ๕ พระองค์

ครั้งทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาวิชาหนังสือและวิชาการตามแบบอย่างราชนารีในราชสำนัก ทรงเฉลียวฉลาด และมีความจำเป็นเลิศ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ามีพระชนมายุเพียง ๖ พรรษา ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จึงเปลี่ยนเป็น พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา เมื่อเจริญพระชันษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระภรรยาเจ้า ทรงสถาปนาขึ้นเป็น พระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ามีพระราชโอรสธิดารวม ๘ พระองค์ ในฐานะพระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าพระองค์แรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชเทวี ต่อมาทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ ทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

ตลอดพระชนม์ชีพอันยืนนานของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงประสบความทุกข์โทมนัส อันเนื่องจากความพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รักหลายครั้งหลายครา พระราชโอรสธิดาสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ นับตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงวิจิตรจิรประภา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ พระราชธิดาที่เพิ่งประสูติได้ ๓ วัน ยังไม่ทันได้รับพระราชทานพระนาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน เมื่อพระชนมายุ ๑๗ พรรษา สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงเศร้าโศกพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง พระสุขภาพก็ทรุดลง ครั้นเมื่อพระสุขภาพเริ่มดีขึ้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงศิราภรณ์โสภณ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ก็สิ้นพระชนม์ ใน พ.ศ. ๒๔๔๑ และ พ.ศ. ๒๔๔๒ ตามลำดับ



พระราชนัดดา

เมื่อสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชโอรสธิดา ๓ พระองค์ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงชื่นชมโสมนัสในพระราชนัดดาเป็นอย่างยิ่งเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม



พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

พระราชกรณียกิจสำคัญสุดท้าย คือ ทรงเป็นประธานในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ




พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ณ วังสระปทุม รวมพระชนมายุ ๙๓ พรรษา พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพจัดขึ้น ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ในวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๙

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ผลการเลือกตั้ง 3 ก.ค. 54

พรรคการเมืองไทย 2554






รายชื่อพรรคการเมืองไทย 2554

หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน

หัวหน้าพรรค : นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ

หมายเลข 2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125

หัวหน้าพรรค : นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล
หมายเลข 3 พรรคประชาธิปไตยใหม่ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 6 คน

หัวหน้าพรรค : นายสุรทิน พิจารณ์
หมายเลข 4 พรรคประชากรไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 13 คน

หัวหน้าพรรค : นายสุมิตร สุนทรเวช
หมายเลข 5 พรรครักประเทศไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 11 คน

หัวหน้าพรรค : นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
หมายเลข 6 พลังชล ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 18 คน

หัวหน้าพรรค : รศ.เชาวน์ มณีวงษ์
หมายเลข 7 พรรคประชาธรรม ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 25 คน

หัวหน้าพรรค : นายมุคตาร์ กีละ
หมายเลข 8 พรรคดำรงไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 13 คน

หัวหน้าพรรค : นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู
หมายเลข 9 พรรคพลังมวลชน ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 8 คน

หัวหน้าพรรค : นายกรภพ ครองจักรภพ
หมายเลข 10 พรรคประชาธิปัตย์ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน

หัวหน้าพรรค : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หมายเลข 11 พรรคไทยพอเพียง ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 3 คน

หัวหน้าพรรค : นายจำรัส อินทุมาร
หมายเลข 12 พรรครักษ์สันติ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 64 คน

หัวหน้าพรรค : พลตำรวจโท ถวิล สุรเชษฐพงษ์
หมายเลข 13 พรรคไทยเป็นสุข ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 5 คน

หัวหน้าพรรค : นายประดิษฐ์ ศรีประชา
หมายเลข 14 พรรคกิจสังคม ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน

หัวหน้าพรรค : นายสุวิทย์ คุณกิตติ
หมายเลข 15 พรรคไทยเป็นไท ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 10 คน

หัวหน้าพรรค : นายตรีสัลล์ จันทน์เทียนเดชา
หมายเลข 16 พรรคภูมิใจไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน



หัวหน้าพรรค : นายชวรัตน์ ชาญวีรกู

หมายเลข 17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 32 คน




หัวหน้าพรรค : นายวิชัย ศิรินคร

หมายเลข 18 พรรคเพื่อฟ้าดิน ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 คน



หัวหน้าพรรค : นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ


หมายเลข 19 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 30 คน



หัวหน้าพรรค : นายโชติ บุญจริง

หมายเลข 20 พรรคการเมืองใหม่ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 24 คน



หัวหน้าพรรค : นายสมศักดิ์ โกศัยสุข

หมายเลข 21 พรรคชาติไทยพัฒนา ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน




หัวหน้าพรรค : นายชุมพล ศิลปอาชา

หมายเลข 22 พรรคเสรีนิยม ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 8 คน



หัวหน้าพรรค : นายพุทธชาติ ช่วยราม

หมายเลข 23 พรรค ชาติสามัคคี ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 9 คน



หัวหน้าพรรค : นายนพดล ไชยฤทธิเดช

หมายเลข 24 พรรคบำรุงเมือง ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 14 คน




หัวหน้าพรรค : นายสุวรรณ ประมูลชัย

หมายเลข 25 พรรคกสิกรไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 2 คน



หัวหน้าพรรค : นายจำลอง ดำสิม

หมายเลข 26 พรรคมาตุภูมิ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 40 คน


หัวหน้าพรรค : นายสนธิ บุญยรัตกลิน

หมายเลข 27 พรรคชีวิตที่ดีกว่า ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 4 คน



หัวหน้าพรรค : นางพูลถวิล ปานประเสริฐ (เหรัญญิกพรรครักษาการแทน)

หมายเลข 28 พรรคพลังสังคมไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 5 คน




หัวหน้าพรรค : นายวิวัฒน์ เลอยุกต์

หมายเลข 29 พรรคเพื่อประชาชนไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 4 คน



หัวหน้าพรรค : นายดิเรก กลิ่นจันทร์


หมายเลข 30 พรรคมหาชน ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 6 คน



หัวหน้าพรรค : นายอภิรัต ศิรินาวิน

หมายเลข 31 พรรคประชาชนชาวไทย



หัวหน้าพรรค : นายสุนทร ศรีบุญนาค

หมายเลข พรรคการเมืองไทย

1 พรรคเพื่อไทย
2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
3 พรรคประชาธิปไตยใหม่
4 พรรคประชากรไทย
5 พรรครักประเทศไทย
6 พลังชล พรรคพลังชล
7 พรรคประชาธรรม
8 พรรคดำรงไทย
9 พรรค พลังมวลชน
10 พรรคประชาธิปัตย์
11 พรรคไทยพอเพียง
12 พรรครักษ์สันติ
13 พรรคไทยเป็นสุข
14 พรรคกิจสังคม
15 พรรคไทยเป็นไทย
16 พรรคภูมิใจไทย
17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน
18 พรรคเพื่อฟ้าดิน
19 พรรค
เครือข่ายชาวนา
แห่งประเทศไทย พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
20 พรรคการเมืองใหม่
21 พรรคชาติไทยพัฒนา
22 พรรคเสรีนิยม
23 พรรคชาติสามัคคี
24 พรรคบำรุงเมือง
25 พรรคกสิกรไทย
26 พรรคมาตุภูมิ
27 พรรคชีวิตที่ดีกว่า
28 พรรคพลังสังคมไทย
29 พรรคเพื่อประชาชนไทย
30 พรรคมหาชน
31
พรรคประชาชนชาวไทย



รายงานผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 กค 2554
ลำดับที่ ชื่อพรรค สัญลักษณ์พรรค บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 บัญชีรายชื่อ (คน) แบ่งเขต (คน) รวม (คน)
1 เพื่อไทย (พท.)
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
66 247 313
2 ประชาธิปัตย์ (ปชป.)
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
45 107 152
3 ภูมิใจไทย (ภท.)
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
4 9 13
4 ชาติไทยพัฒนา (ชทพ.)
ชุมพล ศิลปอาชา
2 8 10
5 พลังชล (พช.)
เชาวน์ มณีวงษ์
1 4 5
6 รักประเทศไทย (ร.ป.ท.)
ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
3 0 3
7 ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.) วรรณรัตน์ ชาญนุกูล
2 0 2
8 รักษ์สันติ (พมช.)
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
1 0 1
9 มาตุภูมิ (มภ.)
สนธิ บุญยรัตกลิน 1 0 1

กกต.ประกาศผลคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อ วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 อย่างเป็นทางการ ดังนี้
1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,921,682 คน

- มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งรวม 75 %

- บัตรเสีย 5.79 %

- ไม่ประสงค์ลงคะแนน 2.03 ล้านใบ คิดเป็น 4.03 %

2. ส.ส. บัญชีรายชื่อ

- การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 35,203,107 คน คิดเป็น 75.03%

- บัตรเสีย 1,726,051 ใบ คิดเป็น 4.9%

- บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน มีจำนวน 958,052 ใบ คิดเป็น 2.72%

3. ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

- มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 35,119,885 คน คิดเป็น 74.85%

- มีบัตรเสีย 2,039,694 ใบ คิดเป็น 5.79%

- บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,419,088 คิดเป็น 4.03%


4. ข้อสังเกต

- การเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ปี 2550 มีบัตรเสีย อยู่ที่ 5.56 %

- การเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ปี 2550 มีบัตรเสีย อยู่ที่ 2.56 %

- บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ปี 2550 อยู่ที่ 4.58 %

- บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนแบบบัญชีรายชื่อ ปี 2550 อยู่ที่ 2.85 %

- จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งมากที่สุด 3 จังหวัด

- ลำพูน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 88.61 %

- เชียงใหม่ 83.13 %

- ตรัง 82.65 %

5. พรรคการเมืองที่มีผู้สมัครได้รับการเลือกตั้ง

- พรรคเพื่อไทย 265 คน

- ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 61 คน
- ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 204 คน

- พรรคประชาธิปัตย์ 159 คน

- ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 44 คน

- ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 115 คน

- พรรคภูมิใจไทย 34 คน

- ส.ส.บัญชีรายชื่อ 5 คน

- ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 29 คน

- พรรคชาติไทยพัฒนา 19 คน

- ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 4 คน

- ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 15 คน

- พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 7 คน

- ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 2 คน

- ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 5 คน

- พรรคพลังชล 7 คน

- ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน

- ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 6 คน

- พรรครักประเทศไทย 4 คน

- ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 4 คน

- พรรคมาตุภูมิ 2 คน

- ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน

- ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 1 คน

- พรรครักษ์สันติ

- ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน

- พรรคมหาชน

- ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน

- พรรคประชาธิปไตยใหม่

- ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน

6. คะแนนผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ

- พรรคเพื่อไทย 15,744,190 คะแนน

- พรรคประชาธิปัตย์ 11,433,501 คะแนน

- พรรคภูมิใจไทย 1,281,522 คะแนน

- พรรครักประเทศไทย 998,527 คะแนน

- พรรคชาติไทยพัฒนา 906,644 คะแนน

- พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 494,894 คะแนน

- พรรครักษ์สันติ 284,112 คะแนน

- พรรคมาตุภูมิ 251,581 คะแนน

- พรรคพลังชล 178,106 คะแนน

- พรรคมหาชน 133,767 คะแนน

- พรรคประชาธิปไตยใหม่ 125,781 คะแนน




พรรคการเมืองที่เข้าร่วมคณะรัฐบาล

พรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรครวมกันจัดตั้งรัฐบาลจะมีจำนวน ส.ส.ทั้งสิ้น 300 เสียง แบ่งเป็น



 พรรคเพื่อไทย 262 เสียง
J พรรคชาติไทยพัฒนา 19 เสียง
J พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 9 เสียง
J พรรคพลังชล 7 เสียง
J พรรคมหาชน 1 เสียง
J พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง

พรรคฝ่ายค้าน 5 พรรค มีจำนวน ส.ส จำนวนทั้งสิ้น 200 เสียง
แบ่งเป็น

J พรรครักประเทศไทย
J พรรครักสันติ
J พรรคมาตุภูมิ
J พรรคประชาธิปัตย์
J พรรคภูมิใจไทย


มรดกโลก World Heitage Site คืออะไร
มรดกโลก World Heritage Site
นิยามและความหมาย
มรดกอันทรงคุณค่าที่มนุษย์ได้รับจากอดีตได้ใช้และภาคภูมิใจในปัจจุบัน และถือเป็นพันธกรณีในการทนุบำรุงดูแลรักษา เพื่อมอบให้เป็นมรดกอันล้ำค่าแด่มวลมนุษยชาติในอนาคต
มรดก ทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติที่มีความโดดเด่นเป็นเลิศในระดับสากล เมื่อได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่ง “มรดกโลก” แล้ว ไม่ว่าจะมีที่ตั้งอยู่ในขอบเขตดินแดนของประเทศใด ถือได้ว่าเป็นมรดกของมนุษยชาติทั้งปวงในโลก
การแบ่งประเภทของมรดกโลก
มรดกโลกมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
มรดก โลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
มรดก ทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกัน ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
มรดก ทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำ เลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์ แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น

ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก
10เกณฑ์ขึ้นทะเบียน"มรดกโลก"
1.เป็น ตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปกรรม หรือตัวแทนของความงดงาม และเป็นผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดยิ่ง
2.เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่งในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการ ออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องหรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งการพัฒนาเหล่านั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดของโลก3.เป็น สิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นพยานหลักฐาน แสดงขนบธรรมเนียมประเพณี หรืออารยธรรมซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ หรืออาจสูญหายไปแล้ว
4.เป็นตัวอย่างของลักษณะโดยทั่วไปของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีหรืออุตสาหกรรม
5.เป็นตัวอย่างของลักษณะอันเด่นชัด หรือของขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้างหรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ที่มีความเปราะบางด้วยตัวมันเอง หรือเสื่อมสลายได้ง่าย เพราะผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่สามารถกลับคืนดัง เดิมได้ หรือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
6.มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์หรือบุคคลที่มีความสำคัญหรือความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
7.เป็นตัวอย่างเด่นชัดในการเป็นตัวแทนของวิวัฒนาการสำคัญๆ ในอดีตของโลก รวมทั้งแหล่งที่เป็นตัวแทนของยุคสำคัญๆ ในอดีต เช่น ยุคของสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง
8.เป็นตัวอย่างเด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณี วิทยา หรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ ได้แก่ (ก) ขบวนการทางธรณีวิทยา เช่น ภูเขาน้ำแข็ง หรือภูเขาไฟ (ข) วิวัฒนาการทางชีววิทยา เช่น ป่าไม้เขตร้อน ทะเลทราย ที่ราบทุนดร้า (ค) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น เกษตรกรรมขั้นบันได
9.เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากเป็นพิเศษ เช่น การเกิดหรือลักษณะหรือแหล่งที่มีความงดงามทางธรรมชาติกว่าพื้นที่อื่นๆ เช่น ระบบนิเวศที่มีลักษณะพิเศษ สภาพทางธรรมชาติ (เช่น แม่น้ำ ภูเขา น้ำตก) แหล่งรวมความหนาแน่นของสัตว์ สภาพทิวทัศน์ที่มีพืชนานาชนิดเป็นองค์ประกอบ และแหล่งรวมความผสมผสานระหว่างองค์ประกอบทางธรรมชาติและวัฒนธรรม
10.เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่หายาก หรือที่ตกอยู่ในภาวะอันตราย แต่ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ ความสนใจด้วย
มรดกไทยที่ขึนบัญชีเป็นมรดกโลกแล้ว
1. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
o เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
o เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
2. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
3. อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
4. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
o เป็น ตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณี วิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
o เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
o เป็น ถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะ อันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ ความสนใจด้วย
5. ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2548 สาเหตุที่ได้รับ
o เป็น ตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
o สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก
สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก
นายสุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

"การ ที่ไทยลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ผลใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกก็จะไม่มีผลผูกพัน ต่อประเทศไทย หมายความว่าทางคณะกรรมการมรดกโลกจะให้กัมพูชาเข้าดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยไม่ได้เป็นอันขาด หากว่ามีการประกาศขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก และยอมรับแผนการจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชา บางส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในฝ่ายไทยนั้น ต้องมีการขออนุญาตรัฐบาลไทยก่อน จะกระทำการใดๆ ไม่ได้ เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก และไม่มีผลผูกพันใดๆ

การ ตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ ได้ไตร่ตรองและผ่านการศึกษาอย่างรอบคอบ รวมถึงได้โทรศัพท์พูดคุยนายกรัฐมนตรี รับทราบการตัดสินใจและเห็นว่ารัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกในการลาออกจากกรรมการ มรดกโลก

การ ถอนตัวออกจากภาคีสมาชิกอนุสัญญาการคุ้มครองมรดกโลกนั้น ไม่มีข้อเสีย มีแต่ข้อดี เพราะทำให้ไทยไม่ต้องผูกพันกับข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลก ถ้าเรายอมรับตามแผนบริหารจัดการดังกล่าว ก็เท่ากับว่ายินยอมเห็นชอบ ทำให้กัมพูชาหยิบยกเป็นข้ออ้างเป็นหลักฐานไปสู้คดีในศาลโลกได้ ไม่ถือว่าการเดินทางไปครั้งนี้ปฏิบัติหน้าที่ล้มเหลว เราทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยไทยอย่างเต็มที่
อย่าง ไรก็ตาม การถอนตัวจากสมาชิกภาคีอนุสัญญาฯ ไม่มีผลต่อมรดกโลกของไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หรือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่จะมีผลกับสิ่งที่ขอขึ้นทะเบียนใหม่เท่านั้น ทั้งนี้ แหล่งมรดกโลกจะถูกถอดถอนหากไม่ดูแลรักษาตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการมรดกโลก